ปวดเรื้อรังเกิดจากอะไร ทำไมเป็นมาตั้งนานแล้วยังไม่หายปวดสักที ทั้งปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดตามข้อ ทำความรู้จักกับอาการปวดเรื้อรัง ทั้งประเภท สาเหตุ และแนวทางการรักษาที่จะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขและบรรเทาอาการปวดเรื้อรังได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ปวดเรื้อรังคืออะไร
ปวดเรื้อรังคืออาการปวดที่เป็นอย่างต่อเนื่องมามากกว่า 3 เดือน โดยอาจเป็นอาการปวดบริเวณใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปวดกล้ามเนื้อ การปวดตามเส้นเอ็น หรือการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นหากรู้ว่าสาเหตุที่ทำให้ปวดเรื้อรังเกิดจากอะไรก็จะทำให้สามารถรักษาอาการปวดได้อย่างตรงจุดและหายจากการปวดเรื้อรังได้
นอกจากการแก้ไขจากสาเหตุแล้ว ยังมีวิธีการอื่น ๆ อย่างการบรรเทาอาการที่ช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตามลำดับอีกด้วย ดังนั้นจึงสามารถใช้หลายวิธีประกอบกันเพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรังได้
ลักษณะของอาการปวดเรื้อรังจะแสดงออกแตกต่างกันไป ทั้งรูปแบบอาการปวดและตำแหน่งของอวัยวะที่ปวด โดยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังนั้น ๆ
ประเภทของการปวดเรื้อรังที่พบได้บ่อย
ปวดเรื้อรังเป็นอาการที่พบได้มากในปัจจุบัน แต่จะมีประเภทของการปวดเรื้อรังอยู่ 2 ประเภทที่พบได้ค่อนข้างบ่อยกว่าอาการอื่น ๆ ได้แก่
1. ปวดเรื้อรังแบบ Myofascial pain syndrome
2. ปวดเรื้อรังแบบ Fibromyalgia
Myofascial pain syndrome
ปวดเรื้อรังในกลุ่มอาการ Myofascial pain syndrome จะเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อเท่านั้น โดยจะรู้สึกปวดแบบปวดร้าวตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขึ้นอยู่กับว่าจุดกดเจ็บ (trigger point) ที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อนั้นอยู่ที่อวัยวะใดนั่นเอง และเมื่อมีอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อส่วนใดก็จะรู้สึกปวดแค่ที่กล้ามเนื้อส่วนนั้นเท่านั้น ไม่กระจายไปยังร่างกายส่วนอื่น ๆ
ทว่าอาการปวดเรื้อรังของกลุ่ม Myofascial pain syndrome ก็อาจเชื่อมโยงกับโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณอื่นได้เช่นกัน เช่น ปวดหัวไมเกรน ปวดกราม หรือปวดแขนขา เป็นต้น
Fibromyalgia
ปวดเรื้อรังแบบ Fibromyalgia จะเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นได้กับทั้งกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนในร่างกาย โดยอาการปวดเรื้อรังแบบนี้จะมีจุดกดเจ็บกระจายตัวไปทั่ว ๆ ทำให้อาการปวดกระจายไปทั่วทั้งร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังหลายบริเวณเช่น ปวดหลังเรื้อรัง ปวดคอเรื้อรัง ปวดบ่าเรื้อรัง ปวดไหล่เรื้อรัง และปวดหัวเรื้อรัง
อาการปวดเรื้อรังแบบนี้มักสมมาตรกันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย เมื่อปวดจุดไหนที่ฝั่งซ้ายก็จะปวดจุดนั้นที่ฝั่งขวาด้วย โดยอาจมีจุดกดเจ็บรวมกันได้ตั้งแต่ 11 จุด ไปจนถึง 18 จุด การปวดเรื้อรังแบบ Fibromyalgia อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น นอนหลับไม่สนิท หรือซึมเศร้า เป็นต้น
สาเหตุของอาการปวดเรื้อรัง
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนเราปวดเรื้อรังมักมาจากสาเหตุต่อไปนี้
อาการปวดเรื้อรังพฤติกรรมการใช้ชีวิต
การปวดเรื้อรังอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำพฤติกรรมเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นท่าทางการนั่ง ท่าทางการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายที่ทำท่าเดิมซ้ำ ๆ เพราะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเดิมหดตัวต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ
เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ การไหลเวียนเลือดก็จะแย่ลง ขนส่งออกซิเจนได้ไม่ดี ทำให้ออกซิเจนบริเวณนั้นลดลง กระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์กล้ามเนื้อก็จะทำงานผิดปกติจนเกิดเป็นจุดกดเจ็บขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตรขึ้นมา
อาการปวดเรื้อรังจากโรคต่าง ๆ
การปวดเรื้อรังอาจเกิดจากโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังเช่น
- โรครูมาตอยด์
- โรคเก๊าท์
- กระดูกสันหลังอักเสบ
- โรคข้ออักเสบ
- โรคข้อเสื่อม
โรคเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเรื้อรังตามแต่ละอวัยวะแตกต่างกันไปตามโรคและอาการของแต่ละคน แต่อาการปวดเรื้อรังจากโรคเหล่านี้สามารถบรรเทาอาการปวดโดยการใช้ยาได้ไม่ต่างกัน
การรักษาและบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
การรักษาอาการปวดเรื้อรังอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบโดยสามารถทำทั้ง 2 แนวทางควบคู่กันไปเพื่อบรรเทาและรักษาอาการปวดเรื้อรังอย่างมีประสิทธิภาพได้
รักษาอาการปวดเรื้อรังโดยการบรรเทาอาการปวด
รักษาอาการปวดเรื้อรังโดยการบรรเทาอาการปวดสามารถทำได้หลายวิธีได้แก่
1. การรักษาและบรรเทาอาการปวดเรื้อรังโดยการใช้ยา สามารถบรรเทาอาการปวดได้ในทันทีและทำให้คุณสามารถใช้วิธีอื่น ๆ ในการลดภาระบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรังได้ง่ายขึ้น
2. การรักษาและบรรเทาอาการปวดเรื้อรังโดยการทำกายภาพบำบัด เป็นการช่วยคลายกล้ามเนื้อต่าง ๆ แต่จะต้องทำโดยอยู่ในความดูแลของนักกายภาพเท่านั้น สามารถทำร่วมไปกับการรับประทานยาบรรเทาปวด
3. การรักษาและบรรเทาอาการปวดเรื้อรังโดยการนวดหรือฝังเข็ม เป็นอีกหนึ่งวิธีคลายกล้ามเนื้อ แต่จะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และในบางรายที่มีอาการปวดมากการใช้วิธีนี้อาจไม่ช่วยให้ดีขึ้นแต่กลายเป็นปวดมากกว่าเดิมได้จึงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอย่างระมัดระวัง
รักษาอาการปวดเรื้อรังโดยการแก้จากสาเหตุ
การรักษาอาการปวดเรื้อรังจากสาเหตุสามารถทำได้หลายวิธี แต่อาจใช้เวลากว่าจะเห็นผลและหายจากอาการปวดได้จริง ดังนั้นจึงควรทำวิธีนี้ไปพร้อม ๆ กับการบรรเทาอาการปวดเรื้อรังอย่างการรับประทานยาแก้ปวด ตัวอย่างการรักษาอาการปวดโดยการแก้ที่สาเหตุเช่น
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการออกกำลังกาย โดยไม่ทำท่าทางเดิม ๆ ติดต่อกันนานเกินไป และออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรงจนไม่เกิดเป็นจุดกดเจ็บ และช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แบ่งเบาภาระบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรังต่าง ๆ ได้
- การทำกายภาพบำบัด นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการได้แล้วในบางท่าหรือบางเครื่องมือยังช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ แข็งแรงขึ้นได้อีกด้วย
อยากหายจากอาการปวดเรื้อรังใช่ไหม? ไม่รู้ว่าแนวทางการรักษาอาการปวดเรื้อรังที่เหมาะกับตัวเองคืออะไร? Medcare พร้อมให้บริการช่วยให้คุณได้ปรึกษากับเภสัชกรมืออาชีพผ่าน LINE Mini App
คลิกเพื่อใช้บริการ >> MedCare ปรึกษาเภสัชกรทันที
เอกสารอ้างอิง :
รู้เท่าทันอาการปวดเรื้อรังของร่างกาย Myofascial pain syndrome & Fibromyalgia., Available from: https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/myofascial_pain_syndrome
Myofascial Pain Syndrome (อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง)., Available from: https://bpk9internationalhospital.com/procedure/content/Myofascial%20Pain%20Syndrome