Latest Articles

ยาแก้ปวดมีอะไรบ้าง เลือกใช้ยาแก้ปวดให้เหมาะกับอาการ

การเลือกใช้ยาแก้ปวดให้เหมาะสม

ยาแก้ปวดมีหลายชนิด แต่จะเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะกับอาการปวดของคุณ? ทำความรู้จักกับยาแก้ปวดชนิดต่าง ๆ สำหรับการรักษาอาการปวดแต่ละจุด เพื่อให้คุณสามารถเลือกยาแก้ปวดที่เหมาะกับอาการของตัวเองได้

ยาแก้ปวดมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ยาแก้ปวดแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามคุณสมบัติและส่วนประกอบของยา โดยยาแก้ปวดประเภทหลัก ๆ ที่คุณอาจมีโอกาสได้ใช้ ได้แก่ยาแก้ปวดต่อไปนี้

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (Non-steroidal anti inflammatory)

ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs สำหรับต้านการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการปวดได้หลากหลายรูปแบบ ตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลัง อาการปวดข้อ อาการปวดศีรษะ อาการปวดประจำเดือน ตลอดจนอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม

ยาแก้อักเสบในกลุ่มนี้ยังสามารถแบ่งแยกย่อยลงไปได้อีก 2 ประเภทคือ

1. ยาแก้ปวด Coxibs มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Cyclo-oxygenase โดยจำเพาะสูงต่อ COX-2  จึงมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแก้ปวดแบบดั้งเดิม

2. ยาแก้ปวดดั้งเดิม ซึ่งจะมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Cyclo-oxygenase ทั้งประเภท COX-1 และ COX-2 โดย COX-1 เป็นเอนไซม์ที่มีประโยชน์ต่อกระเพาะและลำไส้ ส่วน COX-2 เป็นเอนไซม์ที่สร้างสาร prostaglandins ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหรืออักเสบ

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

ยาพาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้าน ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ไปจนถึงการมีไข้ต่าง ๆ ได้ โดยตัวยามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Cyclo-oxygenase และยับยั้งการสร้าง Substance P ทำให้สารที่สร้างหรือกระตุ้นให้เกิดอาการปวดมีปริมาณลดลง ทั้งยังเพิ่มระดับสารอื่น ๆ อย่าง Cannabinoid และ Serotonin ที่ช่วยลดทั้งไข้และอาการปวดได้อีกต่อหนึ่งด้วย

ผลข้างเคียงของยาพาราเซตามอลอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดการเบื่ออาหารได้ แต่หากมีอาการรุนแรงอาจส่งผลให้ตับวายได้เช่นกัน

ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxant)

ยาคลายกล้ามเนื้อ ออกฤทธิ์โดยการลดความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ และทำให้กล้ามเนื้อไม่หดเกร็ง ช่วยรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ รวมไปถึงอาการปวดหลังได้ แต่ยาชนิดนี้หากต้องการใช้แก้ปวดต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้ออาจส่งผลให้ง่วงซึม ปากแห้ง คอแห้ง และอาจมีอาการท้องผูกได้

ยากลุ่มกาบาเพนตินอยด์ (Gabapentin)

ยากลุ่มกาบาเพนตินอยด์ จะช่วยเน้นการบรรเทาปวดในส่วนของเส้นประสาทต่าง ๆ เช่นเส้นประสาทส่วนใบหน้า หรือเส้นประสาทส่วนคอ และยังสามารถบรรเทาอาการบาดเจ็บไขสันหลังได้อีกด้วย ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ลดการตื่นตัวของเซลล์ประสาทในสมองจึงช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้

ผลข้างเคียงของยากลุ่มกาบาเพนตินอยด์อาจส่งผลให้มีอาการง่วงซึม เวียนศีรษะ หรือมีอาการเท้าบวมได้

ยากลุ่มเออร์กอตอัลคาลอยด์ (Ergot Alkaloids)

ยากลุ่มเออร์กอตอัลคาลอยด์ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนและโรคครัสเตอร์ได้ดี โดยจะออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่หลอดเลือดหดตัวกระตุ้นการหลั่งซีโรโตนิน ไปลดอาการปวด

ผลข้างเคียงของยาแก้ปวดกลุ่มเออร์กอตอัลคาลอยด์อาจส่งผลให้มีความดันโลหิตสูง ใจสั่น อาเจียน มือเท้าเย็น หรือปากชาได้

ยากลุ่มทริปแทน (Triptans)

ยากลุ่มทริปแทน ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนและโรคครัสเตอร์เช่นกัน โดยจะกระตุ้นการหลั่งสารซีโรโตนินและตัวรับซีโรโตนิน ทำให้สารสื่อประสาทที่เป็นตัวรับความเจ็บปวดหรืออาการอักเสบลดน้อยลงและช่วยยับยั้งการขยายตัวของหลอดเลือดที่เยื่อบุสมองได้อีกด้วย

ผลข้างเคียงของยากลุ่มทริปแทนอาจส่งผลให้มีอาการปากแห้ง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หน้าแดง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ แต่หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง เจ็บแน่นหน้าอก เหงื่อออกมาก เห็นภาพหลอน หรือมีผื่นขึ้นควรหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์ในทันที

เลือกใช้ยาแก้ปวดอย่างไรให้เหมาะกับแต่ละอาการ

เนื่องจากอาการปวดแต่ละจุดอาจเป็นผลมาจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้นการแก้หรือสารเคมีที่จะมาช่วยบรรเทาอาการปวดก็อาจแตกต่างกันไปด้วย ตัวอย่างการเลือกยาให้ตรงกับชนิดของอาการเช่น

  • เมื่อมีอาการปวดฟัน อาจเริ่มต้นจากการใช้ยาแก้ปวดฟันอย่างยาพาราเซตามอลซึ่งช่วยแก้ปวดในระดับเริ่มต้นไปจนถึงปานกลางเสียก่อน แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นอาจขยับไปใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ต้านการอักเสบ
  • เมื่อมีอาการปวดท้อง การจะเลือกใช้ยาแก้ปวดมวนท้องหรือยาแก้ปวดประจำเดือนอาจเลือกจากทั้งความสามารถในการบรรเทาอาการปวดและความสะดวกในการใช้ยา เช่นการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs 
  • หากมีอาการปวดหลังจากการออกกำลังกาย หรือปวดหลังเรื้อรังจากออฟฟิศซินโดรมก็สามารถเลือกใช้เป็นยาแก้ปวดได้เช่นกัน 
  • หากมีอาการปวดหัว อาจต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่าอาการปวดหัวนั้นเป็นอาการแบบใด หากเป็นอาการปวดหัวมีไข้ทั่ว ๆ ไปอาจใช้เป็นยาพาราเซตามอลได้ แต่หากเป็นอาการปวดไมเกรนอาจเลือกใช้ยาแก้ปวดกลุ่มเออร์กอตอัลคาลอยด์หรือยา กลุ่มทริปแทน
  • หากมีอาการปวดข้อ ไม่ว่าจะมาจากอุบัติเหตุในการออกกำลังกาย การทำงานหนัก หรือจากโรคต่าง ๆ เช่นโรคเก๊าท์ สามารถเลือกใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ 

ไม่รู้จักใช้ยาแก้ปวดตัวไหนดี? ไม่แน่ใจว่าอาการปวดของคุณเหมาะกับยาแบบใด? Medcare พร้อมให้บริการช่วยให้คุณได้ปรึกษากับเภสัชกรมืออาชีพผ่าน LINE Mini App

คลิกเพื่อใช้บริการ >> MedCare ปรึกษาเภสัชกรทันที

เอกสารอ้างอิง :

3 ยาแก้ปวด เลือกใช้ยังไงให้ถูกอาการ., Available from: https://kdmshospital.com/article/how-to-use-painkiller/

กลุ่มยาแก้ปวดมีอะไรบ้าง., Available from: https://www.bakamol.com/analgesic/

คำถามจากคลังข้อมูลยา., Available from: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/QA_full.php?id=2673

ยาแก้ปวดไมเกรน เออร์กอต., Available from: https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/ยาแก้ปวดไมเกรน-เออร์กอต

ทริปแทน., Available from: https://www.pobpad.com/ทริปแทน