การนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาหนักที่รบกวนการใช้ชีวิตใครหลายคน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียดสะสม จนต้องหาทางแก้ปัญหานอนไม่หลับนี้ หนึ่งในทางเลือกที่ใช้ในการปัญหานอนไม่หลับคือ “เมลาโทนิน” ทำงานอย่างไร กินอย่างไรให้ปลอดภัย ข้อควรระวังคืออะไร หาคำตอบได้ในบทความนี้
เมลาโทนิน คืออะไร
เมลาโทนินคือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองจากสมองส่วนไพเนียล ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการนอนหลับของร่างกาย โดยสมองจะผลิตเมลาโทนินเข้าสู่กระแสเลือด และผลิตในปริมาณสูงสุดในเวลากลางคืน ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกง่วงนอน ระดับเมลาโทนินในร่างกายจะค่อยๆ ลดลงเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น
ประโยชน์ของเมลาโทนิน
- ช่วยเรื่องปัญหาการนอนหลับ
- ปรับสมดุลนาฬิกาชีวิต
- บรรเทาอาการเจ็ทแลค
- รักษาอาการนอนหลับผิดเวลา
- บรรเทาอาการนอนไม่หลับในกลุ่มคนที่ทำงานเป็นกะเวลา
- สังเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมช่วยเรื่องนอนไม่หลับ
ประเภทของเมลาโทนิน
จากที่กล่าวไปในหัวข้อข้างต้นว่าในปัจจุบันมีการนำเมลาโทนินมาสังเคราะห์เป็นอาหารเสริมหรือยาเพื่อเป็นทางเลือกในการช่วยให้นอนหลับเกิดเป็นผลิตภัณฑ์เมลาโทนิน ซึ่งเป็นออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. เมลาโทนินแบบปลดปล่อยทันที
มักอยู่ในรูปแบบของยาเม็ดหรือผลิตภัณฑ์กัมมี่เพื่อความง่ายในการรับประทาน มีขนาดตั้งแต่ 3, 5, 10 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตาม เมลาโทนินแบบปลดปล่อยทันมียังไม่ได้ขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย
2. เมลาโทนินแบบออกฤทธิ์เนิ่น
ผลิตภัณฑ์เมลาโทนินแบบออกฤทธิ์เนิ่นต่างจากแบบปลดปล่อยทันทีตรงที่เป็นรูปแบบที่มีการจดทะเบียนเป็นยาในประเทศไทย จำหน่ายได้ตามกฎหมาย ใช้เป็นยารักษาโรคนอนไม่หลับขั้นปฐมภูมิระยะสั้น มีขนาด 2 มิลลิกรัม ทางต่อเนื่องไม่เกิน 13 สัปดาห์
กินเมลาโทนินอย่างไรให้ปลอดภัย
การใช้ผลิตภัณฑ์เมลาโทนินให้ปลอดภัยควรรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเป็นหลัก โดยรับประทานตามฉลากยา ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปเรื่องปริมาณเมลาโทนินที่เหมาะสมกับร่างกายที่สุด อย่างไรก็ตาม แพทย์และเภสัชกรส่วนใหญ่แนะนำให้ทานที่ปริมาณ 1–5 มิลลิกรัมต่อวัน
ข้อควรระวังในการใช้เมลาโทนิน
แม้เมลาโทนินจะเป็นยาที่ปลอดภัยหากใช้ตามปริมาณที่ระบุตรงฉลากยา ไม่ปรากฏอาการถอนยาเมื่อหยุดใช้ แต่ก็สามารถพบผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดหัว ง่วงซึม จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เมลาโทนินขณะอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องใช้สมาธิ เช่น การขับรถ การทำงานที่มีความเสี่ยงสูง การทำงานกับเครื่องจักร
ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ที่รับประทานยาอื่นอยู่เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานเมลาโทนิน
มีคำถามเกี่ยวกับเมลาโทนิน ? มีคำถามเกี่ยวกับอาการนอนไม่หลับ ? ต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เมลาโทนิน ? Medcare พร้อมให้บริการช่วยให้คุณได้ปรึกษากับเภสัชกรมืออาชีพผ่าน LINE Mini App เเละจัดหาตัวแทนไปรับยาร้านขายยามาตรฐานเพื่อนำไปส่งให้ที่บ้านของคุณได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ไร้กังวล
คลิกเพื่อใช้บริการ >> MedCare ปรึกษาเภสัชกรทันที รับยาดีทันใจ