ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ เป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่สำคัญ ในช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน น้ำมูกไหล คัดจมูก คืออาการที่อาจเกิดขึ้นอย่างง่ายดายจากโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อบริเวณโพรงจมูก เช่น โรคหวัด โรคภูมิแพ้ และโรคไซนัสอักเสบ
การรับประทานยาลดน้ำมูกภูมิแพ้ เป็นหนึ่งในวิธีที่หลายคนนิยมใช้กัน แต่รู้หรือไม่ว่ายาลดน้ำมูกแต่ละชนิดก็เหมาะสมกับอาการแต่ละรูปแบบ และมีวิธีการรับประทานที่แตกต่างกัน
ในบทความนี้ ขอแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้แต่ละประเภท วิธีการรับประทาน ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงหลังใช้งานยา
ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ มีทั้งหมดกี่ประเภท
ปัจจุบัน ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ที่วางอยู่ตามท้องตลาดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือยาแก้แพ้ และยาแก้คัดจมูก โดยแต่ละประเภทมีการออกฤทธิ์และวิธีรับประทานที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮิสตามีน
ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) ออกฤทธิ์ทำให้น้ำมูกภายในโพรงจมูกแห้งผ่านการป้องกันไม่ให้ฮิสตามีนจับกับตัวรับบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยยาแก้แพ้ในปัจจุบันแบ่ง 2 กลุ่มได้แก่
- กลุ่มยาแก้แพ้ชนิดง่วงซึม ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้รับประทานยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ชนิดดังกล่าวอาจมีอาการง่วงซึมหลังรับประทานยาจนอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ตัวยาชนิดนี้ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ เครียด และเมารถ มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สูงสุด 12 ชั่วโมง จำเป็นต้องรับประทานหลายครั้งต่อวัน ตัวอย่างยาชนิดนี้ เช่น ยาคลอร์เฟนิรามีน ยาไดเฟนไฮดรามีน ยาไดเมนไฮดริเนต ยาไฮดรอไซซีน และยาบรอมเฟนิรามีน เป็นต้น
- กลุ่มยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงซึม ได้รับการพัฒนาให้ตัวยาไม่สามารถผ่านเข้าไปยังสมองได้ หรือเข้าไปในปริมาณน้อยมาก จนทำให้ผู้รับประทานยาไม่รู้สึกง่วงซึมหรือง่วงซึมเพียงเล็กน้อย ออกฤทธิ์ได้อย่างยาวนานถึง 12‒24 จึงรับประทานวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ตัวอย่างยาชนิดนี้ เช่น ยาเซทิริซีน ยาเลโวเซทิริซีน ยาลอราทาดีน และยาเฟกโซเฟนาดีน เป็นต้น
สรรพคุณ
ยาแก้แพ้ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ชนิดไม่รุนแรงจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ทั้งฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ หรือแมลง เช่น
- อาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล ภูมิแพ้
- อาการคันตา ตาแดง น้ำตาไหล
- อาการคอแห้ง เจ็บคอ ไอ
- ผื่นแดง คัน ลมพิษบนผิวหนัง
- ผิวหนังและเปลือกตาบวม
ผลข้างเคียง
ผู้แพ้ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ ชนิดยาต้านฮิสตามีน อาจส่งผลให้ร่างกายมีผลกระทบต่อระบบประสาทและอาการทางกายภาพ ได้แก่
- อาการง่วงซึม
- อาการตาพร่า เห็นภาพซ้อน
- อาการปากแห้ง ตาแห้ง
- อาการปวดท้อง และท้องผูก
- อาการไอและเจ็บคอ
- อาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้
2. ยาลดน้ำมูก แก้คัดจมูก
ยาแก้คัดจมูก (Decongestant) มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดบริเวณเนื้อเยื่อโพรงจมูกหดตัว ลดอาการบวม และลดการสร้างน้ำมูก มักถูกนำมาใช้ในการบรรเทาอาการหวัด โพรงจมูกอักเสบ และโรคภูมิแพ้ ยาลดน้ำมูกภูมิแพ้ชนิดดังกล่าวแบ่งออกเป็นหลายประเภท ทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ยาทา ยาพ่นจมูก ยาผง และยาหยอดจมูก
ยาลดน้ำมูกชนิดนี้สามารถบรรเทาอาการคัดจมูกได้เพียงชั่วคราว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้งาน 3-4 ครั้งต่อวัน ขึ้นอยู่กับขนาดของยา อาการ และดุลยพินิจของแพทย์ ตัวยาที่ช่วยแก้คัดจมูกมีหลากหลาย เช่น ยาซูโดเอฟีดรีนและยาฟีนิลเอฟรีน เป็นต้น
สรรพคุณ
สรรพคุณหลักของยาแก้คัดจมูกคือ ทำให้โล่งจมูกและหายใจได้อย่างสะดวก โดยข้อดีของยาชนิดนี้คือ ออกฤทธิ์เพียงแค่บริเวณโพรงจมูกเท่านั้น ทำให้ผู้ใช้งานยาไม่มีอาการง่วงซึม
ผลข้างเคียง
เนื่องจากยาลดน้ำมูก แก้คัดจมูกชนิดดังกล่าวมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแบรนด์และส่วนผสมของยาแต่ละตัว ทำให้ผลกระทบข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจมีความแตกต่างกัน ได้แก่
- อาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย
- อาการนอนไม่หลับ
- อาการปวดศีรษะ
- อาการระคายเคืองในโพรงจมูก
- อาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน
- ปากแห้ง
- มีผื่นขึ้น
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น
- ปัสสาวะลำบากในผู้ชาย
ทำไมยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้บางชนิดถึงทำให้ง่วง
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเมื่อคุณใช้ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ บางแบรนด์แล้วจึงมีอาการง่วงซึมอยู่เสมอ เหตุผลหลักเป็นเพราะว่า การทำงานของยาแก้แพ้ในกลุ่มแรก ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของสารบางอย่างในระบบประสาท ซึ่งเกี่ยวข้องกับต่อมในโพรงจมูก ทำให้ช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากอาการแพ้และไข้หวัดได้ และเมื่อหลอดเลือดดูดซึมสารที่อยู่ในยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้เข้าไปและส่งไปยังสมอง ก็อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงคือ อาการง่วงซึมนั่นเอง
ข้อควรระวังของการใช้ยาลดน้ำมูก
การใช้งานยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ ทั้งการรับประทาน ทายา ฉีด พ่น หรือรูปแบบอื่น ๆ โดยที่ไม่ได้มีการศึกษาถึงวิธีการใช้งานอย่างถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาได้ นี่คือข้อควรทำและข้อควรระวังในการใช้ยาลดน้ำมูกทั้งหมด 8 ข้อ ได้แก่
1. แจ้งประวัติการแพ้ยาให้แพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญทราบก่อนใช้งานยา
2. แจ้งยา อาหารเสริม และสมุนไพร ที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่ไม่ควรใช้งานคู่กัน
3. แจ้งประวัติโรคประจำตัว เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญจัดสรรยาอย่างเหมาะสม
4. ห้ามใช้ยาฟีนิลเอฟรีนและยาซูโดเอฟีดรีน ภายใน 14 วันหลังจากใช้ยาต้านเศร้ากลุ่ม MAOI เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบอันตรายได้
5. ห้ามใช้งานยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาต้านเศร้า ยาโรคกระเพาะ และยารักษาอาการอาหารไม่ย่อย เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยมีผลข้างเคียงที่รุนแรงมากขึ้น
6. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้
7. ผู้หญิงตั้งครรภ์ วางแผนมีบุตร หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้งานยา
8. การใช้งาน ยาแก้ไอและยาแก้หวัดบางแบรนด์ ควบคู่กับยาลดน้ำมูก อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาด
สรุป
ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ หรือยาแก้แพ้ เป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่ไม่ว่าใครก็ต้องมีไว้เสมอ ซึ่งก่อนตัดสินใจรับประทานยาชนิดนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาถึงสรรพคุณ วิธีการ และข้อควรระวังในการใช้ เพื่อให้เราใช้งานยาและบรรเทาอาการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และหากว่าคุณรับประทานยาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่อาการคัดจมูก น้ำมูกไหลไม่หายไป ควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และปรับเปลี่ยนการใช้งานยาอย่างเหมาะสม
ในเบื้องต้นคุณสามารถใช้ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่มีความเชี่ยวชาญก่อน และสำหรับใครที่ไม่สะดวกเดินทางไปค้นหายาด้วยตนเอง MedCare มีบริการให้คำปรึกษาและจัดหายาจากร้านขายยาใกล้เคียง เพื่อส่งถึงมือคุณภายใน 1 ชั่วโมง เพียงแอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medcare.asia/