Latest Articles

ยาระบายมีกี่แบบ ทำไมหลายคนจึงบอกว่าอันตราย

ยาระบายมีกี่แบบ ทำไมหลายคนจึงบอกว่าอันตราย

ยาระบายคืออะไร มีกี่แบบ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อใช้เป็นประจำ

ในการเลือกใช้ยาแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นยาประเภทไหนย่อมต้องมีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอยู่เสมอ และตัวเลือกในการปรึกษาเภสัชกรก็เป็นอีกหนึ่งหนทางสำคัญที่จะเลือกใช้ยาได้อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะยาระบาย ที่เป็นหนึ่งในยาที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณมากกว่าที่คิด

ยาระบาย คืออะไร

ยาระบาย (Laxative Drug) คือยาที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ถ่ายไม่ออก โดยออกฤทธิ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทยา เช่น ทำให้อุจจาระนิ่ม กระตุ้นลำไส้ หรือเป็นยาระบายที่มีส่วนผสมของสารหล่อลื่น ทั้งนี้ทั้งนั้นจุดประสงค์ของยาระบายแต่ละประเภทล้วนเหมือนกัน คือการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายได้ดีขึ้น

แต่ในทางกลับกัน การใช้ยาระบายอย่างผิดวิธี ทั้งการใช้งานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือเลือกยาระบายที่ไม่เหมาะสมกับสาเหตุของอาการท้องผูก ก็อาจทำให้ส่งผลให้เกิดความอันตรายต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน และนี่คือสาเหตุหลักๆ ของอาการท้องผูกที่คุณควรรู้

สาเหตุของอาการท้องผูก

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องผูกเกิดจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งการทำงานของลำไส้ โรค การใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • การทำงานของลำไส้ผิดปกติ เช่น ลำไส้มีการการบีบตัวน้อย รูทวารหนักไม่สัมพันธ์กับการทำงานของกะบังลม
  • โรคหรือความผิดปกติของร่างกาย โรคทางระบบประสาท โรคทางเมแทบอลิซึม หรือโรคทางระบบต่อมไร้ท่อ
  • การใช้ยา เช่น ยาแก้ปวดมอร์ฟีน ยาความดันโลหิตบางกลุ่ม ยาจิตเวช ยาแก้ท้องเสีย หรือยารักษาโรคมะเร็ง
  •  ปัจจัยอื่น ๆ เช่น รับประทานผักและผลไม้น้อย ดื่มน้ำน้อย มีภาวะเครียด ไม่ออกกำลังกาย หรือการตั้งครรภ์ 

6 ประเภทยาระบายที่เราควรรู้

ปัจจุบัน ยาระบายที่วางขายอยู่ในท้องตลาดแบ่งออกเป็น 6 ประเภทให้เราสามารถเลือกใช้งานดังนี้

1. ยาระบายช่วยทำให้อุจจาระนิ่ม

ยาระบายที่ออกฤทธิ์เพื่อทำให้อุจจาระชุ่มชื้น นิ่มมากขึ้น ขับถ่ายได้อย่างไม่เจ็บปวด และลดโอกาสในการเป็นริดสีดวง เป็นยาระบายที่มีส่วนประกอบของ Docusate Sodium และ Docusate Calcium สามารถใช้งานได้เป็นประจำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเล็กน้อย เพราะมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับยาระบายประเภทอื่น ๆ

2. ยาระบายช่วยทำให้อุจจาระเกาะตัวเป็นก้อน

ยาระบาย ที่ช่วยเพิ่มกากใยในอุจจาระ ทำให้สามารถกักเก็บน้ำภายในลำไส้ เพิ่มขนาดอุจจาระให้ใหญ่ขึ้น และกระตุ้นการทำงานของลำไส้ได้ดียิ่งขึ้น ภายในประกอบด้วยสาร Psyllium, Methylcellulose และ Polycarbophil ควรศึกษาการใช้งานก่อนเพื่อความปลอดภัย

3. ยาระบายช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้

ยาระบายที่ออกฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ ภายในยาระบายประเภทนี้ประกอบด้วยสาร Bisacodyl และ Sennosides ไม่ควรใช้งานเป็นประจำหรือต่อเนื่อง เพราะเป็นยาระบายซึ่งอาจส่งผลเสียให้เกิดผลข้างเคียงหลายประการ ทั้งภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลในร่างกายในร่างกาย และเป็นอันตรายต่อตับ 

4. ยาระบายแบบสารหล่อลื่น

ยาระบายที่ช่วยกักเก็บน้ำ ป้องกันการสูญเสียน้ำ และเคลือบสารหล่อลื่นทำให้ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายได้ง่ายขึ้น โดยมีส่วนประกอบสำคัญคือ น้ำมันแร่ (Mineral Oil) เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกกะทันหัน แต่ข้อเสียคือร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน และแร่ธาตุบางชนิดได้ลดลง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร

5. ยาระบายแบบไฮเปอร์ออสโมติก

ยาระบายที่ออกฤทธิ์เพื่อดึงน้ำบางส่วนให้เข้าไปยังลำไส้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง เพราะช่วยเพิ่มความเป็นกรด ทำให้อุจจาระนิ่ม และเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น เป็นยาระบายที่มีส่วนประกอบของ Polyethylene Glycol และ Glycerin ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่ โพแทสเซียม และโซเดียมได้

6. ยาระบายแบบน้ำเกลือ

ยาระบายสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ค่อนข้างง่าย ช่วยออกฤทธิ์ให้ลำไส้สามารถดูดซึมน้ำได้ดีขึ้น ทำให้อุจจาระนิ่ม และขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ภายในยามีส่วนผสมของ Magnesium Citrate และ Magnesium Hydroxide ทำให้อาจลดความสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย ผู้ใช้งานจึงควรรับประทานยาชนิดนี้พร้อมน้ำปริมาณมาก

การใช้ ยาระบาย เป็นประจำมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?

ถึงแม้ว่ายาระบายจะไม่ได้ส่งผลกระทบที่อันตรายต่อร่างกายมากนัก แต่หากใช้ยาระบายประเภทต่าง ๆ ในปริมาณมากจนเกินไป หรือใช้งานติดต่อเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย ดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดท้อง ท้องอืด หรือ ท้องเสียอย่างรุนแรง
  • มีเลือดออกทางทวารหนัก
  • ระดับเกลือแร่เสียสมดุล
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • มีอาการแพ้ยา เช่น เกิดผื่นคัน ลมพิษ มีไข้ หรือหายใจลำบาก

หากว่าคุณมีอาการต่าง ๆ ข้างต้น ควรหยุดการใช้งานยาระบายและรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการใช้ยาเกินขนาดหรืออาการแพ้ยา ซึ่งส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้

ยาระบาย ยี่ห้อไหนดี

ในประเทศไทย มียาระบายหลายชนิดที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด และนี่คือ 3 ยี่ห้อยาระบายที่น่าสนใจ

ยาระบาย Sand-M Senna Capsule

ยาระบาย ยาระบาย Sand-M Senna Capsule

ขอบคุณรูปจาก: th.my-best.com

ยาระบาย สมุนไพร ชนิดแคปซูล มีส่วนผสมของมะขามแขก สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการแก้ท้องผูก ขับลม และระบายลำไส้  ภายในยา 1เม็ด ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ สารสกัดจากใบมะขามแขก 300 มิลลิกรัม และสารสกัดจากฝักมะขามแขก 100 มิลลิกรัม

ราคา ประมาณ 20 บาท (จำนวน 10 เม็ด)

ยาระบาย Duphalac Wheat Fiber Plus Lactulose

ยาระบาย Duphalac Wheat Fiber Plus Lactulose

ขอบคุณรูปจาก: th.my-best.com

ยาระบายชนิดผงชงดื่ม มีส่วนผสมของ Lactulose ที่ช่วยให้ยาออกฤทธิ์ดึงน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ อุจจาระนิ่ม และขับถ่ายได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ปวดบิด มีการรับประทานที่ค่อนข้างง่าย เพียงผสมกับน้ำดื่มที่ชื่นชอบและรับประทานให้หมด

ราคา 279 บาท (จำนวน 10 ซอง)

ยาระบาย Emulax Milk of Magnesia

ยาระบาย Emulax Milk of Magnesia

ขอบคุณรูปจาก: th.my-best.com

ยาระบายที่มีส่วนประกอบของ Magnesium Hydroxide ซึ่งช่วยทำให้ร่างกายดึงน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ อุจจาระนิ่มลง และสามารถขับถ่ายได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยรักษาริดสีดวงซึ่งเกิดจากภาวะท้องผูก ถ่ายไม่ออก สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยสูงอายุได้ แต่อาจต้องระมัดระวังเมื่อใช้งานกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เพราะอาจส่งผลต่อค่าไตได้

ราคา 150 บาท (ขนาด 240 มิลลิลิตร)

สรุป

การใช้งานยาระบายอย่างถูกวิธีและมีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ก่อนใช้งานจริง จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกและขับถ่ายไม่ออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่เกิดผลเสียที่ร้ายแรงตามมา โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรที่มีความเชี่ยวชาญก่อนใช้ยาระบายประเภทต่าง ๆ

หากว่าคุณต้องการคำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญผ่านโลกออนไลน์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานพยาบาลหรือร้านขายยา MedCare เรามีบริการให้ปรึกษาโดยแพทย์และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมจัดหายาที่คุณต้องการจากร้านขายยาใกล้บ้าน เพื่อส่งถึงมือคุณภายใน 1 ชั่วโมง เพียงแอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medcare.asia/

แหล่งอ้างอิง

ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์