Latest Articles

มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิงบอกอะไร สามารถรักษาได้อย่างไร

มีตุ่มขึ้นบนอวัยวะเพศหญิง อาจเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนต้องกังวลใจ เพราะเป็นส่วนของร่างกายที่มีความบอบบาง อ่อนโยน และต้องการการดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ คุณผู้หญิงจึงต้องหมั่นสังเกตอยู่เสมอว่ามีความผิดปกติ หรืออาการไม่พึงประสงค์หรือไม่ หากพบความผิดปกติควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาก่อนที่โรคต่างๆ จะรุนแรงจนเกินรับมือ

มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ? รักษาได้อย่างไร ?

สาเหตุที่ทำให้คุณผู้หญิงมีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศ เกิดจากปัจจัยหลากหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อ การอักเสบ หรือการติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

1. ต่อมบาร์โธลินอักเสบ

ต่อมบาร์โธลินอักเสบ หรือฝีบริเวณอวัยวะเพศหญิงเป็นอาการผิดปกติที่สามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยอาการทั่วไปคือ ปวดบริเวณแคมด้านในอวัยวะเพศ สามารถคลำตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิงได้ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นมีหนองไหลจากอวัยวะเพศ

วิธีรักษา

วิธีการรักษาอาการต่อบาร์โธลินอักเสบที่แพทย์มักเลือกใช้คือ ผ่าระบายหนองและเย็บผนังต่อมบาร์โธลินกับชั้นผิวหนัง เพื่อให้ตุ่มหนองดังกล่าวเปิดออก ไม่อุดตัน และป้องกันการอักเสบเพิ่มเติม ซึ่งการรักษาดังกล่าวมักทำควบคู่ไปกับการรับยาฆ่าเชื้อแบบฉีดหรือรับประทาน และยาแก้อักเสบลดปวดบวม

2. ขนคุดหรือต่อมไขมันอักเสบ

สำหรับสาวๆ ที่มีตุ่มนูนสีขาวขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ อาจมีสาเหตุจากต่อมไขมันที่อวัยวะเพศอักเสบได้เช่นกัน โดยมีทั้งตุ่มนูนเพียง 1 เม็ด หรือหลายเม็ดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกัน มักไม่มีอาการเจ็บปวด ไม่อันตราย อาจบวมแดงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

วิธีรักษา

ขนคุมหรือต่อมไขมันอักเสบบริเวณอวัยวะเพศหญิง สามารถรักษาเบื้องต้นได้ด้วยการทายาแก้อักเสบ เช่น ครีม Hydrocortisone หรือประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ถ้าหากอาการเหล่านี้ไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม

มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง หูด

3. ติดเชื้อรา

การติดเชื้อราแคนดิดา (Candida albicans) ในช่องคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วเชื้อราชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในร่างกาย เช่น ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะอยู่แล้ว แต่สามารถเติบโตจนส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาวได้หากมีปัจจัยเข้ามากระทบเพียงพอ เช่นการได้รับ ยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะ มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ได้รับการบำบัดด้วยฮอร์โมนที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย หรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีอาการดังนี้

  • คันระคายเคืองอวัยวะเพศ
  • มีผื่นขึ้นบริเวณปากช่องคลอด
  • ตกขาวผิดปกติ เป็นก้อนหนา ไร้กลิ่น 
  • ช่องคลอดบวมแดง
  • เจ็บแสบช่องคลอดขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์

วิธีรักษา

การรักษาอาการตุ่มบนอวัยวะเพศหญิงจากการติดเชื้อราทำได้ด้วยการใช้ยา 2 ประเภท คือ

  • กลุ่มยาต้านเชื้อรา ที่ใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เช่น ไมโคนาโซล (Miconazole) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) และเทอโคนาโซล (Terconazole) ซึ่งมีทั้งครีม เจล ยาเม็ด ยาเหน็บ สามารถกำจัดเชื้อราได้ใน 3-7 วัน ทำให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไม่รุนแรง
  • ฟลูโคนาโซล (Fluconazole) หรือยาช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบบรุนแรง โดยผู้ป่วยสามารถรับประทานเพียงครั้งเดียว อาจรับประทานครั้งละ 2 เท่า ระยะเวลาห่างกัน 3 วัน แต่ยาประเภทนี้อาจมีความอันตรายกับทารกได้ ผู้ป่วยตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง

4. โรคเริม

เริมเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส Herpe Simplex Virus หรือ HSV สามารถติดต่อได้หลากหลายช่องทาง ทั้งการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การคลอดลูกโดยธรรมชาติ การสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคเริมเกิดได้ใน 2-12 วันหลังติดเชื้อ คือ 

  • มีตุ่มสีแดงขึ้นที่อวัยวะเพศ 
  • เกิดแผลพุพอง
  • ผิวหนังลอก
  • มีอาการปวดหรือคันบริเวณอวัยวะเพศ

วิธีรักษา

สำหรับการรักษาโรคเริมคือ การใช้ยาต้านไวรัส HSV เช่น วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) ไมโคนาโซล (Miconazole) เทอโคนาโซล (Terconazole) ฟลูโคนาโซล (Fluconazole) และอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)

5. โรคหิด

โรคหิด เป็นปฏิกิริยาแพ้ที่ร่างกายมีต่อตัวไรชนิดหนึ่ง นับเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยอาการทั่วไปของโรคหิดคือ มีตุ่มน้ำขนาดเล็กและระคายเคืองอย่างรุนแรงทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น มือ ข้อพับ รักแร้ บั้นท้าย เอว รวมไปถึงอวัยวะเพศ

วิธีรักษา

โรคหิด สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา หรือใช้ยาทาที่แพทย์สั่ง ได้แก่

  • พอร์เมทริน (Permethrin) ครีมที่มีฤทธิ์เพื่อฆ่าตัวไรและไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค มีความปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์และเด็กอายุตั้งแต่ 2 เดือน
  • ไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ยารับประทานชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์กำจัดพยาธิและตัวไรในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาทาแล้วยังไม่หาย แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ผู้ป่วยตั้งครรภ์และเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 15 ปี ไม่ควรใช้
  • โครตาไมตอน (Crotamiton) ยาทารักษาโรคหิดในรูปแบบครีมและโลชั่น ใช้วันละ 1 ครั้ง และควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจใช้
โรคหิด

6. โรคหูดหงอนไก่

โรคหูดหงอนไก่ (Genital warts) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถพบได้มากเช่นเดียวกับโรคเริม มีที่มาจากเชื้อไวรัส Human papillomavirus หรือเรารู้จักกันในชื่อ HPV โดยอาการของโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง ได้แก่ มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง อวัยวะเพศบวม มีอาการคัน และมีเลือดออกจากช่องคลอด

วิธีรักษา

ยารักษาโรคหูดหงอนไก่ มีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้

  • โพโดฟิลลิน (Podophyllin) ยารับประทานที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อหูด มีความอันตรายต่อผู้ป่วยตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร เพราะสารเคมีบางอย่างอาจส่งต่อผ่านน้ำนมได้
  • อิมิควิโมด (Imiquimod) ยาทารักษาตุ่มนูนบริเวณอวัยวะเพศ โดยเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสหูดได้
  • กรดไตรคลอโรอะเซติก (Trichloroacetic Acid) ยาทารักษาหูหงอนไก่ผ่านการกัดกร่อนและกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ไม่ต้องการ อาจมีผลข้างเคียงให้ผู้ป่วยระคายเคืองผิวหนังได้
  • ไซนีคาเทชิน (Sinecatechins) ครีมสำหรับรักษาตุ่มนูน มีผลข้างเคียงให้ผิวหนังรู้สึกแสบร้อนและแดงเล็กน้อย

7. โรคหูดข้าวสุก

โรคหูดอีกหนึ่งประเภทที่เกิดจากเชื้อไวรัส Molluscum Contagiosum Virus ทำให้เกิดตุ่มทั่วร่างกาย รวมไปถึงอวัยวะเพศ อาการของโรคดังกล่าวแบ่งเป็น

  • ตุ่มมีสีขาว ชมพู หรือเนื้อ พร้อมรอยบุ๋มตรงกลางเล็กน้อย 
  • มีอาการเจ็บ แสบ คันบริเวณอวัยวะเพศ

วิธีรักษา

สำหรับการรักษาหูดข้าวสุก แพทย์มักให้ยาทั้งหมด 4 ชนิดเช่นเดียวกับการรักษาโรคหูดหงอนไก่ คือ โพโดฟิลลิน (Podophyllin) อิมิควิโมด (Imiquimod) กรดไตรคลอโรอะเซติก (Trichloroacetic Acid) และไซนีคาเทชิน (Sinecatechins)

8. ผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง

หากผู้หญิงใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ ไม่ว่าจะเป็น สบู่ น้ำมันหอมระเหย หรือโลชั่นทาตัว อาจทำให้สารเคมีเหล่านี้สัมผัสกับอวัยวะที่มีความบอบบางเป็นพิเศษ จนเกิดการอักเสบ ระคายเคือง มีผื่น หรือมีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิงได้เช่นกัน

วิธีรักษา

การรักษาตุ่มจากการอักเสบบริเวณอวัยวะเพศหญิง สามารถทำได้ด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ 2 รูปแบบคือ

  • ยาทาเฉพาะที่ ผู้ป่วยควรใช้ยาดังกล่าววันละ 1-2 ครั้งยาวนาน 2 สัปดาห์ เพื่อบรรเทาผื่นคัน
  • ยารับประทาน เพื่อบรรเทาอาการคัน และกำจัดแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของตุ่มบนอวัยวะเพศ

นอกเหนือจากโรคที่ระบุไปข้างต้นซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปแล้ว การมีตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหญิงอาจมีผลกระทบอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ความไม่มั่นใจ ไม่สบายใจ ซึ่งส่งผลต่อสภาพจิตในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีโอกาสพบเจอโรคอันไม่พึงประสงค์อื่นๆ ได้อีก จึงขอเน้นย้ำว่าหากเกิดอาการแปลกๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างตรงจุด

ถุงยางอนามัย

วิธีป้องกัน มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง

การรักษาตุ่มบนอวัยวะเพศอาจต้องใช้ระยะเวลานาน เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าตุ่มดังกล่าวจะไม่กลับมาอีกครั้ง คุณสามารถป้องกันตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส
  • ป้องกันตัวไรด้วยการทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้ เช่น ผ้าห่ม ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว
  • ล้างอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • สวมกางเกงในที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป และเลือกกางเกงในที่ช่วยระบายอากาศได้ดี
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีในการทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง
  • ทำความสะอาดกางเกงในเป็นประจำ
  • ในช่วงที่มีประจำเดือน ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อรักษาความสะอาด
  • หากมีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง หลีกเลี่ยงการสัมผัสตุ่มดังกล่าว
  • ไม่เกาอวัยวะเพศ เพื่อป้องกันแผลซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียและการแพร่กระจาย

สรุป

คุณควรหมั่นสังเกตร่างกายของตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ และหากคุณสังเกตว่า มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง ควรรีบไปพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้พวกเขาได้วินิจฉัยสาเหตุที่ถูกต้อง และช่วยรักษาตุ่มดังกล่าวอย่างรวดเร็วที่สุด

MedCare พร้อมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการคำปรึกษาและแนะนำที่ถูกต้อง เพราะเรามีเภสัชกรซึ่งมีความเชี่ยวชาญและพร้อมให้คุณได้มั่นใจว่าจะสามารถรักษาตุ่มดังกล่าวได้อย่างตรงจุด เพียงแค่แอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medcare.asia/

ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์